วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการอุตฯ 2 ปี 60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร   ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม

001 นางสาวกรรภิรมย์   ติระพัฒน์     น้องเอิง
002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด
003 นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง อีจิมมี่
004 นายจีรุตม์ ศรีราม อีบิ๊ก
005 นายชนัตถ์ จันทร์วงค์ อีชนัท
006
007 นางสาวฐานิญา ช่วยบำรุง บัดดี้พะแพง
008
009
010 นายตะวัน แซ่ซำ อีการ์ด
011 นายธนพงศ์            ไชยนุรักษ์   พี่บูม
012 นายธวัช บัวก่น น้องบอลลี่
013 นางสาวธิดารัตน์ เรืองเหมือน น้องแพร
014
015 นายนันทวุฒิ          ช่วยมณี        พี่บ่าว
016 นายนิติกรณ์ ยอดสุวรรณ์ นายน๊อต
017
018 นายประพัฒน์พงษ์  ทองเอม      นายนุ้ก
019 นาย ปิยวิทย์ สังข์เศรษฐ์ อีวิทย์
020
021 นางสาวเพชรลดา    เขียวสุวรรณ น้องฝน
022
023 นายภาคภูมิ ใจสมุทร อีภาคภูมิ
024 นายมูฮัยมีน            ยะเลซู        อีมิง
025 นายยูโซฟ ใบตาเย๊ะ ไอ้กำนัน
026 นายรุซดีย์ ยะลิน ไอ้ดี้
027 นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ น้องปาล์มมี่
028 นายวรายุทธ ชูบุญลาภ อีแม็ก
029
030 นางสาววารีซ่า บาราสัน พี่วาวา
031 นางสาวศเร๊าะต้า หมัดบก สาวต้าร์
032 นายศรัตยา              แซ่เอี่ยม     อีแดนเนียล
033
034 นายสถิตย์               พิชัยบัณฑิตย์ แสนดี
035
036 นายสิทธิพร             บำเพิง         พี่บูม
037 นางสาวสุทธิณี บุญธรรม น้องพิกุล
038 นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ น้องแบ็มบี้
039 นางสาวสุภาพร ทองแย้ม น้องแก้วลี่
040 นายโสภณ              สุวรรณรัศมี  พี่ใหม่
041
042 นายอนุวัฒน์            ค้ำชู            หลวงเสริม
043 นายอรรถชัย ชูสังข์ กอล์ฟ
044 นายอลังการ            แท่งทอง    หัวหน้าจ๊ะจ๋า
089 นายสัณหวัช            ขวัญเย็น     มาร์ค

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

บทที่ 7ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

ระบบสายพานลำเลียง
คือ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยใช้สายพานลำเรียง ในหน่วยของการผลิต ระบบลำเลียงสินค้า ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ ในรางกายมนุษย์ เพราะถ้าไม่มีเส้นเลือด ร่างกายของเรา จะไม่มีการหมุนเวียนเลือดนำเลือกเสียมาฟอกให้กลายเป็น เลือดที่ดีได้ ซึ่งระบบลำเลียงจะต้องทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น ส่วนอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน



 รูปภาพระบบสายพานลำเลียง



วิดีโอประกอบ





ระบบรถ AGV
 AGV  คือ

รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ



ประโยนช์ของรถ AGV 

รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)

ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ= 360,000฿:ปี

ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 2ปี 6 เดือน ถ้าใช้งาน 1 กะ:วัน
1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน 3 กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้น
ใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 

รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ โมงเช้า ถึง โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 

รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 

กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ 
ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ

ความ ผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 
การ ลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยวชน ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท

เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ เจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น

การ คำนวนนี้ เป็นเพียงการประมาณการ  นักธุรกิจ หรือ นักบริหารที่เปรื่องปราชญ์ อาจจะมองความคุ้มทุนในด้าน automation ได้มากกว่าผุู้เขียนบทความก็เป็นได้


รูปภาพรถ AGV





วิดีโอประกอบ



เครื่องจักร NC

บทที่ 5

เครื่องจักร NC

ความหมาย
N   ย่อมาจาก   Numerical  (   นิวเมอร์ริเคล  )  หมายถึง   ตัวเลข   0  ถึง   9    ตัวอักษร หรือโค้ด เช่น 
A ,  B , C  ถึง  Z  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  เช่น เครื่องหมาย  +  ,  -  และ  %           C  ย่อมาจาก  Control   ( คอนโทรล )  หมายถึง  การควบคุมโดยกำหนดค่า  หรือตำแหน่งจริงที่ต้องการเพื่อให้เครื่องจักรทำงานให้ได้ค่าตามที่กำหนดดังนั้น    เอ็นซี  ( NC )  หมายถึง    การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ได้จากประเทศสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ  การเคลื่อนที่ต่าง ๆ  ตลอดจนการทำงานอื่น ๆ  ของเครื่องจักรกล  จะถูกควบคุมโดยรหัสคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข  ตัวอักษร  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  ซึ่งจะถูกแปลงเป็นเคลื่อนสัญญาณ (  Pulse )  ของกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณออกอื่น ๆ  ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทำให้เครื่องจักรกลทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการ

ลักษณะงานที่เหมาะสมกับเครื่องจักรกล NC
1. ชิ้นงานต้องการความเที่ยงสูง
2. มีความซับซ้อน
3. มีการดำเนินงานหลายอย่างบนชิ้นงาน
4. การเปลี่ยนแปลงแบบมีบ่อยครั้ง


ส่วนประกอบของเครื่องจักรกล NC
1.เพลาหลัก Spindle (rpm)
2.โต๊ะงาน Work table (milling)
3.ใบมีด Tool
4.ระบบน้ำมันหล่อลื่น
5.ระบบเป่าทำความสะอาด









เครื่องจักร CNC

ความหมาย
   C  ย่อมาจาก  Computer   หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งบนเครื่องจักร
   N   ย่อมาจาก   Numerical  (   นิวเมอร์ริเคล  )  หมายถึง   ตัวเลข  0  ถึง   9 ตัวอักษร หรือโค้ด  เช่น   A ,  B , C  ถึง  Z  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  เช่น เครื่องหมาย  +  ,  -  และ  %
  C  ย่อมาจาก    Control   ( คอนโทรล )  หมายถึง  การควบคุมโดยกำหนดค่า  หรือตำแหน่งจริงที่ต้องการเพื่อให้เครื่องจักรทำงานให้ได้ค่าตามที่กำหนด
ดังนั้น   ซี เอ็น ซี  ( CNC )    ซึ่งย่อมาจาก  Computer  Numerical  Control    คือ  คอมพิวเตอร์หรือไมโครโปรเซสเซอร์ สำหรับใช้ควบคุมการทำงาน

1. เครื่องกลึงซีเอนซี (CNC Machine Lathe ) สำหรับกลึงงานประเภทที่มีรูปทรงกระบอก 2 มิติ หรือกัดชิ้นงาน







2. เครื่องกัดซีเอนซี (CNC Milling Machine ) แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ ( Machining Center ) สำหรับการกัดชิ้นงาน 3 มิติ









3. เครื่องตัดซีเอนซีโลหะด้วยลวด (CNC Wire Cutting Machine ) สำหรับตัดแผ่นโลหะหนาด้วยลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นผลทำให้วัสดุหลอมเหลวและหลุดออกไปตามแบบที่ต้องการ








4. เครื่องซีเอนซี อีดีเอ็ม (CNC  Electrical Discharge Machine หรือ EDM ) สำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเล็คโตรดเพื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานให้ได้ตามแบบที่กำหนด






5. เครื่องซีเอนซีเจียรไน (CNC  Grinding Machine ) สำหรับเจียรไนให้ได้ผิวงานละเอียด เรียบมันวาวโดยแยกออกได้ดังนี้ การเจียรนัยราบ ( Surface Grinding ) การเจียรนัยกลม ( Cylindrical Grinding ) และการลับคมตัดชนิดต่างๆ









6. เครื่องซีเอนซีตัดแผ่นโลหะ (CNC Sheet Metal Cutting ) สำหรับตัดแผ่นโลหะตามรูปแบบที่เราต้องการและความหนาของชิ้นงานไม่หนามาก เราสวามารถแยกประเภทวิธีการตัดได้ คือ เลเซอร์ ( Laser ), พลาสม่า ( Plasma ), น้ำ ( Water Jet )








7. เครื่องซีเอนซีวัดโคออร์ดิเนต (CNC  Coordinate Measuring Machine หรือ CMM ) สำหรับวัดขนาด หรือ โคออร์ดิเนตของตำแหน่งต่าง ๆ บนชิ้นงาน 3 มิติ








8. เครื่องเจาะซีเอนซี (CNC Drilling Machine ) สำหรับเจาะรูกลมและทำเกลียวสำหรับชิ้นงาน








9. เครื่องเจาะกระแทกซีเอนซี (CNC  Punching Machine ) สำหรับตัดและเจาะแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยใช้ทูล ( Tool ) กระแทกแผ่นให้ขาด








10. เครื่องพับแผ่นโลหะซีเอนซี (CNC Press Brake หรือ Bending Machine ) สำหรับพับแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง 3 มิติ หรือรูปทรงอื่นตามความต้องการ









11. เครื่องคว้านซีเอนซี (CNC  Boring Machine ) สำหรับคว้านรูกลมให้ชิ้นงานสำหรับผิวงานละเอียด ซึ่งชิ้นงานมีขนาดใหญ่









เครื่องจักร DNC

ความหมาย
คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน



Image result for เครื่องจักร dnc คือ



วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

บทที่ 6

หุ่นยนต์ในโรงงาน



หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน (Industrial Robot Type) 
อุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการ Set Up ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนการทำงานสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรม นอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน
การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ แสดงดังรูป
ปัจจุบันและในอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยจะทำงานแทนมนุษย์ในงานต่างๆ เหล่านี้งานที่อันตราย เช่น งานยกเหล็กเข้าเตาหลอม งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี งานซ้ำซากน่าเบื่อ เช่น งานยกสินค้าจากสายงานการผลิต งานประกอบ งานบรรจุผลิตภัณฑ์งานที่ต้องการคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน เช่น งานเชื่อม งานตัด งานที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญสูง เช่น งานเชื่อมแนว เชื่อมเลเซอร์ งานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีต เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานตรวจสอบ (Inspection) ฯลฯ
หุ่นยนต์ คือ เครื่องจักรที่ถูกควบคุมอัตโนมัติ สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานเอนกประสงค์ โปรแกรมการเคลื่อนที่จะต้องสามารถโปรแกรมให้เคลื่อนที่ได้อย่างน้อย 3 แกนหรือมากกว่า หุ่นยนต์อาจจะยึดอยู่กับที่หรือย้ายตำแหน่ง (Mobile) เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม
การแบ่งชนิดของหุ่นยนต์
โดยทั่วไปการแบ่งชนิดของหุ่นยนต์จะแบ่งตามลักษณะรูปทรงของพื้นที่ทำงาน (Envelope Geometric) แต่ก่อนจะอธิบายชนิดของหุ่นยนต์ขออธิบายการทำงานของจุดต่อ (Joint) ของหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมซึ่งในขั้นพื้นฐานมี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
จุดต่อ (Joint) ทั้งสองแบบเมื่อนำมาต่อเข้าด้วยกันอย่างน้อย 3 แกนหลักจะได้พื้นที่ทำงาน (Work envelope) ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถนำมาแบ่งชนิดของหุ่นยนต์ได้ดังต่อไปนี้
1. Cartesian (Gantry) Robot
แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นแบบเชิงเส้น (Prismatic) ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian
Cartesian Robot Work Envelop Of Cartesian Robot
ข้อดี 
1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ
2. การเคลื่อนที่สามารถทำความเข้าใจง่าย
3. มีส่วนประกอบง่ายๆ
4. โครงสร้างแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่
ข้อเสีย
1. ต้องการพื้นที่ติดตั้งมาก
2. บริเวณที่หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ จะเล็กกว่าขนาดของตัวหุ่นยนต์
3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุจากทิศทางข้างใต้ได้
4. แกนแบบเชิงเส้นจะ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลวได้ยาก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนักๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่น ใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machine loading) ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly) ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่างๆ
2. Cylindrical Robot
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีแกนที่ 2 (ไหล่) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) เป็นแบบ Prismatic ส่วนแกนที่ 1 (เอว) จะเป็นแบบหมุน (Revolute) ทำให้การเคลื่อนที่ได้พื้นที่การทำงานเป็นรูปทรงกระบอก ดังรูป
Cylindrical Robot Work Envelop Of Cylindrical Robot
ข้อดี
1. มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
3. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. แกนที่เป็นเชิงเส้นมีความยุ่งยากในการ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลว
การประยุกต์ใช้งาน
โดยทั่วไปจะใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน (Pick-and-Place) หรือป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องจักร เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็กๆ ได้สะดวก
3. Spherical Robot (Polar)
มีสองแกนที่เคลื่อนในลักษณะการหมุน (Revolute Joint) คือแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 2 (ไหล่) ส่วนแกนที่ 3 (ข้อศอก) จะเป็นลักษณะของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ดังรูป
Spherical Robot Work Envelop Of Spherical Robot
ข้อดี
1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นเนื่องจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)
2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) และส่วนประกอบ ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อนขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)
4. SCARA Robot
หุ่นยนต์ SCARA (Selective Compliance Assembly Robot Arm) จะมีลักษณะแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเป็นลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลง (Prismatic) ดังรูป หุ่นยนต์ SCARA จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง
SCARA Robot Work Envelop Of SCARA Robot
ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวระนาบและขึ้นลงได้รวดเร็วจึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการความรวดเร็วและการเคลื่อนที่ก็ไม่ต้องการการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) ซึ่งส่วนใหญ่การประกอบจะอาศัยการหมุน (Rotation)ในลักษณะมุมต่างๆ นอกจากนี้ SCARA Robot ยังเหมาะกับงานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
5. Articulated Arm (Revolute)
ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน ดังรูป
Articulated Arm Robot Work Envelop Of Articulated Robot
ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
4.โครงสร้างไม่มั่นคงตลอดช่วงการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณขอบ Work Envelope ปลายแขนจะ
5. มีการสั่น ทำให้ความแม่ยำลดลง
การประยุกต์ใช้งาน
หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing ฯลฯ
การเลือกหุ่นยนต์ชนิดต่างๆ มาใช้งาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการให้หุ่นยนต์ทำดังที่อธิบายไว้ตอนต้น
รูปภาพหุ่นยนต์ในโรงงาน







หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

       หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างมาจากโลหะ alloy มีความแข็งแรง ทนทานและน้ำหนักเบา   สามารถควบคุมได้ทั้งแบบมีสายและไร้สาย สามารถทำงานร่วมกับปืนทำลายวงจรและเครื่องเอ็กซเรย์แบบพกพา
รูปภาพหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด






หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์

NAO หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์
นาโอะ (NAO) เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran Robotics จากประเทศฝรั่งเศสแม้ว่าจะมีการใช้นาโอะ (Academics Edition) ตามมหาวิทยาลัยและห้องทดลองหลายแห่งเพื่อจุดประสงค์ทางการวิจัยในขณะนี้ยัง ไม่มีการวางจำหน่ายนาโอะตามท้องตลาดทั่วไปจนกว่าปลายปี พ.ศ. 2553 นาโอะได้ถูกเลือกให้เป็นหุ่นยนต์มาตรฐานสำหรับการแข่งขันโรโบคัพแทนหุ่นยนต์ สุนัขไอโบของบริษัทโซนีตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา
รูปภาพหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์

วิทยาการหุ่นยนต์ เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์วิทยาการหุ่นยนต์เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์, กลศาสตร์, และซอฟต์แวร์
ระบบสมองกลที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่หรือการเดินของหุ่นยนต์ในขั้นต้น คือ การเดินแบบสถิตย์ หรือการเคลื่อนที่โดยอาศัยจุดศูนย์ถ่วงที่อยู่ภายในพื้นที่ครอบคลุมบริเวณขา ทั้ง 2 ข้างของหุ่นยนต์ จากนั้นจึงเป็นการพัฒนาเป็นรูปแบบการเดินแบบจลน์หรือการเคลื่อนที่โดยอาศัย จุดศูนย์ถ่วงที่อยู่นอกพื้นที่ครอบคลุมของขาทั้ง 2 ข้างซึ่งเป็นรูปแบบการเดินของมนุษย์ตามลำดับ ซึ่งทีมวิศวกรได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาตามข้อมูลที่ทำการทดลองและจดบันทึก เป็นฐานข้อมูลจากการทดลองรูปแบบการเคลื่อนที่ของมนุษย์ทีมวิศวกรได้คำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างในการพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ให้สามารถเดินได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คือ
  1. การพัฒนาความเร็วในการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของหุ่นยนต์
  2. การเพิ่มเติมในระดับถัดไปของร่างกาย เช่น แขน มือและศีรษะ
  3. การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ เช่นการก้าวเดินขึ้นลงบันได หรือการวิ่ง
นาโอะรุ่นสำหรับโรโบคัพมีดีกรีความอิสระ (DOF - degrees of freedom) เท่ากับ 21 ในขณะที่รุ่นสำหรับงานทดลองมี 25 DOF เนื่องจากเพิ่มเติมมือสองข้างเข้าไปด้วยเพิ่อเพิ่มความสามารถทางด้านการหยิบ จับ ทุกรุ่นของนาโอะประกอบด้วย inertial sensor และ ultrasound captors นอกจากนี้นาโอะยังมีไมโครโฟน 4 ตัว ลำโพง 2 ตัว และกล้อง CMOS 2 ตัวเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการรู้จำคำพูดการรู้จำภาพ, และโลคอลไลเซชัน








สมาชิกการจัดการอุตฯ 2 ปี 60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร   ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม 001 นางสาวกรรภิรมย์   ติระพัฒน์      น้องเอิง 002  นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003 นา...