วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อสาร


 

 เทคโนโลยีการสื่อสาร (อินเตอร์เน็ต)



อินเตอร์เน็ต Internet
ความเป็นมาของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
               ช่วง พ.ศ. 2503-2513 กระทรวงกลาโหมและ มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐได้ร่วมกันวิจัยโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANET(Advance Research Project Agency Network) เพื่อใช้ในสงครามเย็นกับรัสเซีย โดยใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างฐานทัพต่างด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก โดยออกเครือข่ายเป็นแบบใยแมงมุมคือมีเส้นทางการสื่อสารได้หลายเส้นทาง หากจุดหนึ่งถูกทำลาย ก็สามารถหาเส้นทางอื่นติดต่อสื่อสารทดแทนได้
               ใน พ.ศ.2526 ได้มีการแยกเครือข่าย ARPANET ออกเป็นสองเครือข่ายคือ ARPANET เดิม และ MILNET เพื่อใช้ทางการทหาร แต่ MILNET ก็ถูกยกเลิกในเวลาต่อมา ส่วนARPANET ได้ถูกพัฒนาโดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ ให้เป็นเครือข่ายความเร็วสูงระหว่างภูมิภาค(high speed cross-country network backbone) ที่เรียกว่า NSFnet
               ช่วง พ.ศ.2523-2533 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้หยุดสนับสนุน NSFnet และให้มหาวิทยาลัยและภาคเอกชนดำเนินการต่อ ก็ได้เกิดเครือข่ายความเร็วสูงเชื่อมต่ออีกมากมาย เรียกว่า อินเตอร์เน็ต(Internet) ซึ่งมีอัตราการเติบโตขึ้นเป็นอัตราทวีคูณ จนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตมากกว่า 120 ล้านคน

 





ความเป็นมาของการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 
              
การใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(Asian of Technology) ได้ทำการส่งอีเมลผ่านโมเด็มความเร็ว 2,400 บิตต่อวินาที กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งระบบเครือข่าย “จุฬาเน็ต” เชื่อมต่อกับเครือข่ายยูยูเน็ต ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกามีความเร็วในการรับสงข้อมูล 9,600 บิตต่อวินาที ด้วยสายแบบลีสต์ไลน์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคและเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือเนคเทค(National Electronic and Computer Tecnology Center; NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่าย “ไทยสาร” (Thai Social/Scientific Academic and Research Network; THAISARN) ซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายของเนคเทคเข้ากับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย 5 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเพื่อให้อินเตอร์เน็ตแพร่หลายจึงเชื่อมเครือข่ายเข้าเครือข่ายระดับโรงเรียน กลายเป็น SchoolNet ทุกวันนี้ หลังจากนั้นเครือข่ายไทยสารได้ขยายการเชื่อมต่อกัยสถาบันและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น และปรับปรุงความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้สูงถึง 64 กิโลบิตต่อวินาที ในหลายเส้นทาง และเช่าวงจรต่างประเทศเชื่อมต่อกับญี่ปุ่น มีความเร็วสูงถึง 2 ล้านบิตต่อวินาที ปัจจุบันมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์มากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงจัดตั้งเป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย และเชื่อมต่อกับต่างประเทศด้วยความเร็วสูง และเปิดให้มีบริษัทให้บริการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เรียกบริษัทเหล่านี้ว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไอเอสพี(Internet Service Provider; ISP) โดยบริษัทเหล่านี้จะเช่าวงจรสื่อสารความเร็วสูงต่อกับต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารสมัครเป็นสมาชิกก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันที
  




ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต 
               อินเตอร์เน็ตเกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อแชร์การใช้อุปกรณ์ และข้อมูล ร่วมกัน เพื่อติดต่อสื่อสารกัน จากเครือข่าย LAN(Local Area Network; LAN) เล็กๆ ในสำนักงาน หลายๆ เครือข่ายเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย WAN(Wide Area Network;WAN) กระจายไปจากระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ผ่านการเชื่อมต่อหลากหลายแบบ เช่นสายระบบโทรศัพท์ การเช่าสายพิเศษ(Leased line) การเชื่อมผ่านระบบไมโครเวฟ การเชื่อมต่อผ่านสาย ISDN หรือ ผ่านดาวเทียม โดยเชื่อมผ่านอุปกรณ์เกตเวย์ (Gateway) หรือประตูเชื่อมต่อ ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถขยายตัวได้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกันเรียกว่าโพรโทคอล(Protocol) ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีปัญหา ลักษณะการเชื่อมต่อของอินเตอร์เน็ตเป็นแบบใยแมงมุม การเชื่อมต่อถึงกันทำได้หลากหลายเส้นทางไม่ตายตัว ระบบอินเตอร์เน็ตทำงานแบบไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์ โดยผู้ใช้เป็นไคลเอ็นต์ที่ขอใช้บริการต่างๆ เช่นฐานข้อมูล ข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร จากเครื่องแม่ข่ายหรือเซอร์ฟเวอร์ 
การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 
               1. การเชื่อมต่อโดยตรง โดยเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น สายเช่า ไมโครเวฟ ไอเอสดีเอ็น ซึ่งจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือไอเอสพี ซึ่งจะเช่าวงจรที่ต่อผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นเกตเวย์ไปยังประเทศต่างๆ
               2. การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โดยใช้การหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มเข้าสู่เครือข่าย โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อสัญญาณ ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของไอเอสพี เพื่อที่จะได้รหัสประจำตัว(user ID) และรหัสผ่าน (password) เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ความเร็วในการเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์จะช้ากว่าการต่อโดยตรง มีความเร็วตั้งแต่ 9,600 บิตต่อวินาที ถึง 56 กิโลบิตต่อวินาที ค่าใช้จ่ายจะคิดตามเวลาที่เชื่อมต่อ


  


โครงสร้างของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของประเทศไทย
               โครงสร้างของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้วางระบบสายข้อมูลหลักหรือแบคโบน(Backbone) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ต(Thailand Internet Exchange Service; THIX) เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ประกอบด้วย 2 บริการคือ
               1. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ(International Internet Gateway; IIG) ทำหน้าที่ให้บริการกับไอเอสพีสามารถติดต่อรับส่งข้อมูลเข้าออกระหว่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกับต่างประเทศ ด้วยวงจรเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศย่านเอเซียแปซิฟิก และวงจรตรงดาวเทียม
               2. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ตในประเทศ(National Internet Exchange; NIX) ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันด้วยวงจรภายในประเทศ ทำให้การติดต่อ สื่อสารข้อมูลกันภายในประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนอกประเทศ NIX ได้เปิดให้บริการ 2 ที่ คือ ที่ตึก กสท.โทรคมนาคม กรุงเทพฯ และ ศูนย์โทรคมนาคม จ.นนทบุรี

  




อินเตอร์เน็ตถือได้ว่ามีความสำคัญต่อโลกปัจจุบันยิ่ง  เพราะในโลกยุคสมัยนี้เป็นยุคของการเร่งรีบ รีบที่จะไปทำงาน รีบที่จะไปเรียนจนไม่มีเวลาพักผ่อนและยังทำให้ไม่มีเวลาที่จะไปทำอย่างอื่นเลย  ทางไหนที่สามารถทำให้เราเกิดความสะดวกสบาย ใช้เวลาน้อยที่สุด เราก็พยายามไขว่คว้า  สรรหามา เพื่อสนองความต้องการของตัวเองการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายๆ  และเพิ่มความสะดวกสบายกับชีวิตในการใช้เทคโนโลยีของคนสมัยนี้จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ นับวันโลกก็ยิ่งพัฒนาขึ้นทุกวัน ผู้คนจึงให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี การใช้อินเทอร์เน็ตจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแก่ผู้คนเพราะจากแต่ก่อนผู้คนอาจไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันมากนัก  แต่เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีอาจเป็นสิ่งที่เราต้องการ  หรืออาจจะพูดได้ว่าเทคโนโลยีอาจเป็นปัจจัยห้าที่เราต้องการในชีวิตก็เป็นได้
การใช้เทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  เป็นที่นิยมมากของคนในยุคนี้สาเหตุหลักๆอาจจะเป็นเพราะการใช้งานง่าย  ใช้ระยะเวลาสั้นๆ อยู่ที่ไหนก็สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียเวลา  การใช้งานมีการอาจเป็นลักษณะของการสื่อสารพูดคุยสนทนากัน หรือแชท ซึ่งอาจเปรียบได้ว่าเหมือนเราไปห้องประชุมหรือเวทีกว้างๆที่สามารถพูดคุยสนทนากับใครก็ได้  แม้อาจจะอยู่ห่างไกลกันก็สามารถพูดคุยพิมพ์ข้อความสนทนากันได้ เช่น Facebook ซึ่งเป็นที่นิยมกันแพร่หลายของยุคสังคมสมัยนี้
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือE-mail ก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกัน  เพราะถึงแม้ว่าจะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกแต่เราก็สามารถส่งจดหมายถึงกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่เสียเวลาข้อความที่ส่งไปก็รวดเร็วทันใจเพียงแค่ไม่กี่วินาทีก็ถึงผู้รับแล้ว
การใช้อินเตอร์เน็ตก็ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามรถโปรโหมดโฆษณาการขายสินค้าหรือการทำธุรกิจโดยที่เราไม่จำเป็นต้องหาที่หรือเช่าที่ให้เสียเวลา แถมประหยัดค่าใช้จ่ายการซื้อ-ขายก็ง่าย ใครที่สนใจสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ก็สามารถจ่ายผ่านทางช่องตู้ ATMหรือผ่านทางบัตรเครดิต  ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีสินค้ามากมายที่มีขายอยู่บนอินเตอร์เน็ต อาทิ เสื้อผ้าแฟชั่น รองเท้าแฟชั่น หนังสือทั่วไป งานแฮนด์เมด เป็นต้น
อินเตอร์เน็ตยังเป็นที่รวบรวมข่าวที่ใหญ่ที่สุด และเราก็ยังสามรถแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้หรือแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย
การสืบค้นข้อมูลโดยเว็บไซด์ต่างๆ สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว ทันใจโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปค้นคว้าในห้องสมุดอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน  เช่น Google เป็นเว็บที่คนทั่วไปจะใช้บ่อยที่สุด  อยากรู้เรื่องอะไรก็แค่พิมพ์ และคลิกเข้าไป เท่านี้เราก็ได้ข้อมูลต่างๆที่เราอยากรู้แล้ว  และอินเตอร์เน็ตก็ยังมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น  เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นต้น
แต่ในการเทคโนโลยีประเภทอินเตอร์เน็ตก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไปเพราะการใช้อินเตอร์ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจจะเกิดผลเสียแก่ตนเองและผู้อื่นได้เหมือนกัน อย่างเช่น  คนที่เป็นอินเตอร์เน็ตนานๆติดต่อกันทุกวันก็อาจจะทำให้เป็นโรคติดอินเตอร์เน็ตได้เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นสิ่งเสพติดที่ขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้ มีการหมกมุ่นอยู่กับอินเตอร์เน็ตเวลาไม่ได้เล่นรู้สึกหงุดหงิดอย่างบอกไม่ถูก และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาและต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  เช่น  ผู้ที่ติดเกมส์อินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีความอยากหรือต้องการเล่นเกมส์ตลอดเวลามีผลกระทบทางสมองที่อาจทำให้เป็นคนก้าวร้าว หรือมีนิสัยขี้ลักขโมย  อาจเป็นภัยต่อสังคมได้
อินเตอร์เน็ตใครๆก็ว่าเป็นโลกที่ไร้พรมแดนเมื่อเวลาเราจะหาหรือทำอะไรบนอินเตอร์เน็ตก็ได้เป็นเรื่องเสรีภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งมีทำให้เกิดการก่ออนาจาร เกิดคดีขมขืน ฆ่าตกรรม
เพราะเป็นหาข้อมูลที่บางทีอาจขัดต่อศีลธรรม อาทิ หนังโป๊ และคลิปวีดิโอต่างๆมากมายที่เป็นสื่อล้อแหลม
สิ่งเป็นภัยอย่างมากต่อสังคมปัจจุบันนี้
การใช้อินเตอร์เน็ตยังมีความเสี่ยงที่บางทีราก็สามารถถูกเฮกเกอร์  หรือล่วงก็ข้อมูลได้โดยง่าย การแพร่ไวรัสต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต  ซึ่งไปทำลายข้อมูลต่างๆของเรา อาจทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงหรือพังได้
ฉะนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตเราก็ควรจะใช้ให้เป็นใช้ให้ถูกวิธี   เพราะอินเตอร์เน็ตมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน  ถ้าเราใช้อย่างถูกวิธีใช้ให้เป็นก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น  แต่ถ้าหากใช้ในทางที่ผิด ก็อาจจะเกิดผลเสียตามมา ซึ่งบางทีก็อาจไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย  และอาจเป็นภัยต่อสังคมได้อีกด้วย  

 ข้อดี ของอินเตอร์เน็ต
-         สามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร ทั้งตัวอักษร รูปภาพ คลิป วิดีโอ และเสียง ทั้งใกล้และไกลได้ โดยไม่ต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่าย
-         มีความรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
-         สามารถติดต่อสื่อสารกับคนได้ทั่วโลก 
-         ช่วยในด้านการศึกษา เช่น การสืบค้นข้อมูลทำรายงาน บทความ วิจัย ช่วยส่งงานผ่าน E-mail Blogger Classroom Edmodo หรือWebsite และ App ต่างๆที่อาจารย์ได้กำหนดไว้
-         ช่วยในด้านธุรกิจ เช่น สามารถประชุมทางไกลได้ เช่น video conference
-         สามารถซื้อขายสินค้าต่างๆ ได้ เป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
-         ตั้งกระทู้ หรือห้องสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
-         สามารถช่วยในความบันเทิง จรรโลงใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง  เล่นเกม ต่างๆได้
-         สามารถเป็น Guide นำเที่ยวได้ เช่น ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว ที่กิน
-         ให้ความสะดวก สบายในการเดินทาง เช่น จองตั๋วรถ ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก โรงแรม
ข้อเสีย ของอินเตอร์เน็ต
-         อาจมีการล่อลวง หลอกล่วง กลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี
-         เกิดอนาจาร และอาจเกิดอาชญากรรมได้
-         เป็นเครือข่ายที่กว้างขวาง มีผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ไม่สามารถควบคุมได้
-         อาจทำให้เสียการเรียนได้
-         อาจทำให้เสียสุขภาพได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ , นั่งหน้าจอเป็นเวลานาน สายตาอาจเสียได้
-         เกิดการคุกคาม ละเมิดลิขสิทธ์ส่วนบุคคล
-         มีการแชร์ โพสต์ ข้อมูลข่าวสาร ภาพ คลิป วิดีโอ ที่ไม่ดีไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
-         เป็นแหล่งมั่วสุมของอบายมุขต่างๆ เช่น เว็บไซต์ลามก
 ผลกระทบต่อตัวเอง
-         เล่นอินเตอร์เน็ตเป็นเวลานาน ทำให้นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เสียการเรียน เสียสุขภาพ และสายตาอาจเสียได้
-         อาจทำให้งมงาย จิตวิตกกังกลได้ เช่น การเล่นแชทต่างๆ
-         อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้ เช่น การนัดเจอกันกับคนที่คุยกันในแชท คนที่ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน
-         อาจเกิดการคุกคามต่อตัวเองได้ เช่น การที่เราโพสต์ข้อความรูปภาพหรือวิดีโอ ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการแชร์ และเกิดความเสียหายต่อตัวเองได้
ผลกระทบต่อสังคม
-         การใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางบวกทำให้สังคมมีความก้าวหน้า มีความทันสมัยมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความสะดวกสบาย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ด้านธุรกิจ ด้านติต่อสื่อสาร ด้านข้อมูลข่าวสาร โลกออนไลน์ต่างๆ ที่อยู่ในทางที่ดี สังคมหน้าอยู่มีความน่าเชื่อถือ และยังสร้างโอกาสให้คนพิการอีกด้วย
-         การใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางลบอาจทำให้สังคมมีความเสื่อมเสียลง ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม เพราะบุคคลบางกลุ่ม ใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ผิด ใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้สังคมเกิดความเสียหาย เสื่อมลง ทั้งในด้านศีลธรรม วัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ค่านิยมเปลี่ยนไป และอาจทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาชิกการจัดการอุตฯ 2 ปี 60 ห้อง A

อาจารย์ธภัทร   ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม 001 นางสาวกรรภิรมย์   ติระพัฒน์      น้องเอิง 002  นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด 003 นา...